วันพฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2558

อาหารพื้นเมือง จังหวัดพะเยา


ของกิ๋นบ้านเฮา

แก๋งเห็ดห้า

เห็ดห้าหรือเห็นตับเต่า เป็นเห็ด
ที่นิยมรับประทานกันในภาคเหนือ
และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
มักจะพบในช่วงต้นฤดูฝนใต้ต้น
 มะกอกน้ำ ต้นขนุน  ต้นหว้า 
 ต้นส้ม ต้นมะม่วง  ซึ่งนิยมนำมา
ทำแกงหรือย่างกินเป็นอาหาร 
ปัจจุบันนั้นเห็ดห้าสามารถเพาะ
เลี้ยงได้และมีจำหน่ายอยู่
ของกิ๋นบ้านเฮา

ยำฮก

“ยำฮก” (ยำรก) เมนูอาหารพื้นบ้าน
เมืองเหนือที่ทำให้หลายๆ คนน้ำ
ลายสอและอยากที่จะลิ้มลองรส
ชาติอันแสนโอชะ เมื่อย้อนกลับ
ไปสมัยก่อนกว่าจะได้กินฮกนั้น
ต้องรอให้วัวหรือควายที่เลี้ยงไว้
เกิดลูก เมื่อวัวควายเกิดลูกเจ้าของ
ที่เลี้ยงต้องไปนั่งเฝ้านั่งรอฮกตก
ออกมา
ของกิ๋นบ้านเฮา

คั่วถั่วเน่า

ถั่วเน่าเป็นอาหารพื้นเมือง
ของชาวเหนือ มีทั้งที่เป็นแบบ
แผ่นเรียกกันว่าถั่วเน่าแผ่นและแบบ
ห่อใบตองแล้วนำไปนึ่งบางพื้นที่เรียน
ถั่วเน่าชนิดนี้ว่าถั่วเน่าเมอะ ถั่วเน่า
เป็นภูมปัญญาในการถนอมอาหาร
ของคนโบราณที่สืบทอดกันมารุ่น
ต่อรุ่นจนถึงปัจจุบันสามารถนำมา
ประกอบอาหาร
ของกิ๋นบ้านเฮา

ยำจิ้น

เดินทางห่างบ้านมาหลายวัน
 การได้กลับมาบ้านครั้งนี้รู้สึกมี
ความสุขมากพอก้าวย่างเดินมาถึง
บ้านรู้สึกได้ถึงอุ่นไอรัก ร้อยยิ้มขอ
งการรอคอยการกลับมาทำให้ใจที่
เคยฝ่อได้กลับมาพองโตขึ้นมา
อีกครั้ง “ลูกกิ๋นข้าวมาหรือยัง
 ป้อกับแม่ยะยำจิ้นไว้ถ้าหล้า 
ของกิ๋นบ้านเฮา

ลาบหมู

ถ้าพูดถึงอาหารเหนือหลายคนจะ
นึกถึง ลาบ ลาบถือว่าเป็นวัฒนธรรมการ
กินและเป็นอาหารชั้นเลิศของชาวเหนือ
 พ่ออุ้ยเคยเล่าให้ฟังว่า “สมัยก่อนลาบ
จะได้กินเฉพาะในงานวันสำคัญที่พิเศษ
เท่านั้น ในงานจะมีการล้มวัว ล้มควาย 
หรือหมู เพื่อนำมาทำลาบแบ่งปันสู่กัน
ของกิ๋นบ้านเฮา

แก๋งผักหม

แกงผักหม (แกงผักโขม) ผักหม(ผักโขม)
ผักพื้นบ้านขึ้นอยู่ทั่วไปตามแหล่งธรรมชาติเช่น
 ป่าละเมาะ ริมทาง ชายป่าที่รกร้าง  
ในบริเวณสวนผัก สวนผลไม้ ไร่นาของชาวบ้าน
 ผักหมมีคุณค่าทางด้านสารอาหารมากมายมี
โปรตีนสูงและที่สำคัญสามารถนำมาปรุงอาหาร
ได้หลากหลาย วันนี้พะเยา108
ของกิ๋นบ้านเฮา

แกงเห็ด

  ระหว่างที่จอดมอเตอร์ไซด์เพราะไม่แน่
ใจกับเส้นทางการเดินทางและรอคณะมา
สมทบการมุ่งหน้าสู่บ่อสิบสอง มีหญิงสาว
วัยกลางคนเดินออกมาจากพุ่มไม้บริเวณชายป่า
 มือข้างหนึ่งหอบหิวถังสีดูแล้วเหมือนมีสิง
ของบางอย่างอยู่ในนั้น  คณะเดินทางจึง
เอ่ยถามเธอว่า “ ไปไหนมาจ้าว
ของกิ๋นบ้านเฮา

ไข่ป่าม

  ” ไข่ป่าม  อาหารพื้นบ้านภาคเหนือตี่ดู
แสนธรรมดาแต่ขอบอกว่าแสนจะอร่อย 
“ ไข่ป่ามเป็นอาหารพื้นบ้านภาคเหนือทำ
จากไข่ไก่ปรุงรสนำมาใส่กระทงใบตอง
แล้วนำไปปิ้งไฟ ขอบอกเลยว่ารสชาติแสน
อร่อยมีกลิ่นหอมของใบตองนิดๆ เพิม
ความอร่อยให้กับเมนูไข่ 

ศิลปวัฒนธรรม / ประเพณี จังหวัดพะเยา

ประเพณีไหว้พระธาตุดอยจอมทองวันเเพ็ญเดือน 4 ทุกปี ชาวพะเยาพร้อมใจกันทำบุญไหว้พระธาตุดอยจอมทอง เพราะความเลื่อมใสศรัทธา
ประเพณีไหว้พระเจ้าตนหลวงเป็นประเพณีที่ผู้คนมากราบไหว้พระเจ้าตนหลวงอย่างล้นหลาม เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง และครอบครัว ในวันเพ็ญเดือน 6 ประมาณเดือนพฤษภาคมของทุกปี
 ประเพณีเลี้ยงผีขุนน้ำเป็นพิธีขอน้ำขอฝน จากผีประจำขุนเขาที่เป็นต้นน้ำ เพราะเป็นเวลาที่ใกล้จะหว่านข้าวกล้า จะทำในวันปากปีของสงกรานต์เมืองเหนือ วันที่ 16 เมษายน ของทุกปี
ประเพณีไหว้พระธาตุวัดป่าแดง-บุญนาคเป็นประเพณีที่ชาวพะเยา จะพากันทำบุญตักบาตรสวดมนต์ไหว้พระ เวียนเทียน รักษาศีลภาวนา ในวันเพ็ญเดือน 5 ของทุกปี
ประเพณีลอยกระทง (ประเพณียี่เป็ง)ตรงกับวันเพ็ญเดือนยี่เหนือ (เดือนพฤศจิกายน) ประเพณีนี้มี 2 วันคือ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือนยี่ เรียกว่า วันยี่เป็ง เป็นวันขอขมาต่อแม่น้ำคงคา ในช่วงเช้าจะเป็นการทำบุญตักบาตร และมีเทศน์มหาชาติฉบับล้านนา ตั้งแต่เช้ามืดจนถึงกลางคืนและกลางวัน จะมีการปล่อยโคมลอยขึ้นบนท้องฟ้า ซึ่งถือว่าเป็นการปล่อยเคราะห์ปล่อยโศก กลางคืนจะมีการลอยกระทงเล็ก บริเวณรอบกว๊านพะเยา
งานประเพณีสลากภัตโดยจะเริ่มตั้งแต่ วันเพ็ญเดือนสิบสองเหนือ (เดือน 10) ประมาณเดือนกันยายน และจะสิ้นสุดในเดือนเกี๋ยงดับ (เดือน 11) ชาวบ้านจะนำเอาสิ่งของต่างๆ เช่น ข้าวสาร พริก หอม กระเทียม อาหารเป็นห่อนึ่ง ชิ้นปิ้ง (เนื้อย่าง) หมาก เมี่ยง บุหรี่ รวมใส่ในก๋วย (ตะกร้า) พร้อมกับยอด คือ สตางค์หรือธนบัตรผูกไว้ ซึ่งขึ้นอยู่กับกำลังศรัทธาและทรัพย์ของแต่ละครอบครัว
งานพิธีแห่เทียนเข้าพรรษาจะตรงกับวันอาสาฬหบูชา หรือวันเพ็ญเดือนแปด (เดือนกรกฎาคม) โดยคณะศรัทธาและหน่วยราชการทุกแห่ง จะรวมกันหล่อเทียนที่แกะสลักอย่างสวยงาม เพื่อนำมาร่วมเป็นขบวนแห่เทียนเข้าพรรษาของแต่ละปี มีการประกวดประชันความสวยงามของเทียน
พิธีเลี้ยงผีหนองเล็งทราย จะจัดขึ้นวันแรม 9 ค่ำ เดือน 9 เหนือ (เดือน 7) ของทุกปี ณ บริเวณหนองเล็งทราย อ. แม่ใจ ซึ่งถือเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญ เพื่อสร้างจิตสำนึกของชาวบ้านให้รู้จักคุณค่าของแหล่งน้ำและช่วยกันอนุรักษ์ประเพณีวันดอกคำใต้บาน
วันที่ 14 กุมภาพันธ์ของทุกปี กลุ่มสตรีทุกระดับจะรวมพลังทำกิจกรรมร่วมกัน มีการแสดงวัฒนธรรมพื้นบ้าน การจำหน่ายผลผลิตพื้นบ้าน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้สตรีทุกคนสำนึกในศักดิ์ศรีของสตรี 

งานอนุสรณ์ผู้เสียสละ พ.ต.ท.2324จัดขึ้นเพื่อรำลึกถึงวีรชนที่เสียสละชีวิตจากการต่อสู้ระหว่างประชาชน ข้า ราชการ ตำรวจ ทหาร กับพวกคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย งานจัดขึ้นระหว่าง วันที่ 31 มกราคม ถึง 6 กุมภาพันธ์ บริเวณสนามบินทหาร โดยจะมีพิธีวางพวง มาลาอนุสรณ์ผู้เสียสละ

 งานสืบสานตำนานไทยลื้อ จัดขึ้นในช่วงต้นเดือนมีนาคม เพื่อส่งเสริมขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวไท ลื้อ ซึ่งเป็นชนกลุ่มใหญ่ของอำเภอเชียงคำ ในงานมีขบวนแห่วัฒนธรรมที่สวย งาม ในเขตเทศบาลเชียงคำ มีการจำหน่ายอาหารไทลื้อ การสาธิตพิธีกรรม ต่างๆ
 งานสักการะบวงสรวง พ่อขุนงำเมือง เป็นการรำลึกถึงพ่อขุนงำเมือง กษัตริย์ที่ครองเมืองพะเยา ซึ่งในช่วงที่พระองค์ครองราชย์ บ้านเมืองร่มเย็นเป็นสุข และได้ทรงร่วมกับพ่อขุนรามคำแหง มหาราช และพ่อขุนเม็งรายมหาราช สาบานเป็นพระสหายต่อกันที่เมืองพะเยา งานจัดขึ้นทุกวันที่ 5 มีนาคม ที่บริเวณอนุสาวรีย์พ่อขุนงำเมืองสวนสมเด็จย่า 90 โดยมีพิธีบวงสรวงแบบพราหมณ์ มีขบวนสักการะเทิดพระเกียรติ และการ แสดงวัตนธรรมล้านนา
งานเทศกาลลิ้นจี่ และของดีเมืองพะเยา จัดขึ้นประมาณกลางเดือนพฤษภาคม ที่ตลาดกลางเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ อำเภอแม่ใจ ในงานมีมหรสพ การแสดง การประกวดธิดาชาวสวนลิ้นจี่ ประกวดลิ้นจี่พันธุ์ต่างๆ









แหล่งอ้างอิง  http://www.baanjomyut.com/76province/north/prayao/costom.html

แหล่งท่องเที่ยว ในจังหวัดพะเยา

สถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัด พะเยา